วันอังคารที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
:: Angela Aki - Your Love Song ::
Your Love Song
Lyrics & Music: Angela Aki
Open your eyes, wake up my love
This is the calm I am speaking of
Empty and cold I am torn apart
You enter the beats back in my heart
I have arrived much too soon
I’m waiting for you to enter my room
This could be your love song
This could be your love song
I lie awake,this moonless night
Knowing our timing isn’t right
Shadows of dreams cast from my soul
Without your light I’ll never be whole
I have arrived much too soon
I’m waiting for you to enter my room
This could be your love song
This could be your love song
Credit : cherryblossom-garden.com
วันเสาร์ที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
:: เพื่อโอลิมปิค 2008 ::
รูปที่ 1. สนามบินนานาชาติปักกิ่ง
รูปที่ 2. เดอะคอมมูน – กรุงปักกิ่ง
เดอะคอมมูน (The Commune) เกิดขึ้นตามความตั้งใจของคู่รักนักพัฒนาเรียลเอสเตท จางซิน และพานซื่ออี๋ ที่ลงทุนควักกระเป๋าให้นักสถาปัตย์ชั้นนำชาวเอเชีย 12 คน คนละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเนรมิตเฮาส์คอมเพล็กซ์หรูที่มีกลิ่นอายกำแพงเมืองจีนขึ้น ปัจจุบัน เดอะคอมมูน เปิดให้บริการแล้วในส่วนที่เป็นโฮเทลบูติค ภายใต้การบริหารของเครือโรงแรมเคมปินสกี้ จากเยอรมนี ซึ่งยังมีโครงการส่วนต่อขยายเพิ่มเติมอีก เฟสแรกสร้างเสร็จเมื่อ 2002 และทั้งโครงการจะเสร็จสิ้นในปี 2010
รูปที่ 3. ศูนย์กลางการเงินของโลกที่เซี่ยงไฮ้
ศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่ของโลก กำลังจะอุบัติขึ้นที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ที่เขตการเงินหลู่เจียจุ้ย ในเขตผู่ตง ในรูปโฉมของตึกกระจกสูงเสียดฟ้า 101 ชั้น Kohn Pedersen Fox Architects ผู้ออกแบบเล่าว่า การสร้างให้ตึกต้านทานแรงลมได้ ถือเป็นความท้าทายของงานนี้ ในที่สุด จึงได้ออกแบบให้ยอดตึกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมเจาะช่องตรงชั้นที่ 100 ซึ่งนอกจากจะปรับเป็นจุดชมวิวที่สูงที่สุดในโลกแล้ว ยังสามารถบรรเทาแรงลม ลดการแกว่งตัวไปมาของตัวตึกได้ด้วย กำหนดสร้างเสร็จปี 2008
รูปที่ 4. สระว่ายน้ำแห่งชาตินครปักกิ่ง
สระว่ายน้ำแห่งชาตินี้ สร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 โดยมีรูปลักษณ์เหนือจินตนาการคล้าย "ก้อนน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่" ซึ่ง PTW and Ove Arup ออกแบบโดยใช้วัสดุเทฟลอนทำเป็นโครงร่าง เน้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยจะนำมาใช้เดินเครื่องกรองน้ำเสียของสระน้ำที่ใช้เติมในสระจะถูกกักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ฝั่งไว้ใต้ดิน นอกจากนั้น เพื่อให้ดูเหมือนน้ำที่สุด สถาปนิกยังใช้เทคโนโลยีจากงานวิจัยของนักฟิสิกส์จาก Dublin's Trinity College ที่สามารถทำให้กำแพงอาคารดูเหมือนฟองน้ำที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนอกจากจะทำสระว่ายน้ำแห่งแดนมังกรนี้ดูดีเป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังสามารถต้านทานกับแรงสั่นสะเทือนอันเกิดจากแผ่นดินไหวได้ด้วย กำหนดเสร็จปี 2008
รูปที่ 5. สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งชาติ (CCTV) – นครปักกิ่ง
อาคารสำนักงานใหญ่ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี มีรูปลักษณ์ที่แหวกแนวไปจากตึกระฟ้าทั่วไป โดยเกิดจากสองอาคารที่ตั้งมุมฉากต่อเข้าหากัน มองดูเหมือนอุโมงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยกระจายแรงลมที่ปะทะกับตึกได้เป็นอย่างดี ตึกใหม่นี้ออกแบบโดย Rem Koolhass และ Ole Scheeren ส่วนวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้างคือ Ove Arup กำหนดสร้างเสร็จปี 2008
รูปที่ 6. Linked Hybid – นครปักกิ่ง
สถาปัตยกรรมแห่งที่อยู่อาศัยสมัยใหม่ Linked Hybid เป็นที่ตั้งของบ้าน 2,500 หลัง อพาร์ทเม้นท์ 700 ห้อง บนเนื้อที่ขนาด 1.6 ล้านตารางฟุต ถือเป็นตึกใหญ่สุดในโลกที่มีใช้ระบบชีวภาพในการทำความเย็นและให้ความอุ่น เพื่อรักษาอากาศทั้ง 8 ตึกให้คงที่ ในชั้นที่ 20 สร้างเป็นวงแหวน 'บริการ' ที่เชื่อมต่อกันทุกตึก ครบครันด้วยบริการต่างๆ ทั้งซักผ้ายันร้านกาแฟ Steven Holl และ Li Hu ยังออกแบบให้ ฝั่งท่อน้ำสองสายลึกลงไปใต้ดิน 100 เมตร สำหรับให้น้ำไหลเวียน ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องกระจายความร้อน และเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ ที่ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าทำน้ำเดือดหรือแอร์ทำความเย็น ขณะเดียวกัน ยังมีระบบบำบัดน้ำเสีย ที่จะรวบรวมน้ำจากห้องครัวและอ่างน้ำทั่วอาคาร มาหมุนเวียนใช้ใหม่ในห้องส้วมกำหนดสร้างเสร็จปี 2008
รูปที่ 7. เมืองเศรษฐกิจตงถัน – เจียงซู
เมืองเศรษฐกิจแห่งใหม่ของแดนมังกรอยู่ระหว่างวางแผน คาดว่าเฟสแรกจะเสร็จปี 2010
ออกแบบและพัฒนาโดย ซ่างไห่ อินตัสเทรียล คอร์ป ที่คาดว่าจะมีขนาดเทียบเท่ากับเกาแมนฮัตตัน ตั้งอยู่บนเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน กลางลำน้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ใกล้กับมหานครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2040 อย่างไรก็ตาม เฟสแรกของโครงการนี้ จะเรียบร้อยก่อนที่งานเอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้จะเปิดฉากขึ้นในปี 2010 ซึ่งจะมีประชากรราว 50,000 คน เข้าอยู่อาศัยที่นี้ จากนั้นอีก 5 ปี ระบบพิเศษต่างๆ จะเริ่มใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็น ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบจัดการน้ำเสีย และการหมุนเวียนพลังงานมาใช้ใหม่ พร้อมด้วยถนนสายใหญ่ที่จะเชื่อตรงสู่นครเซี่ยงไฮ้อย่างสะดวกสบาย
รูปที่ 8. สนามกีฬาโอลิมปิก - นครปักกิ่ง
สนามกีฬาหลายแห่งในโลก ออกแบบโดยเดินตามรอยสนามกีฬาชื่อดังของโลก โคลิเซี่ยมแห่งโรม แต่สนามกีฬานานาชาติของ Herzog & de Meuron ในปักกิ่งนี้พยายามที่จะคิดออกแบบใหม่ให้เอื้ออำนวยต่อสิ่งแวดล้อมปัจจุบันมากขึ้น สถาปนิกจากสวิสเซอร์แลนด์ Herzog & de Meuron ต้องการที่จะช่องระบายอากาศตามธรรมชาติ ในสนามกีฬาโครงสร้าง 91,000 ที่นั่ง อาจถือได้ว่า เป็นสนามกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้ สนามกีฬาดังกล่าวซึ่งมีกำหนดเสร็จปี 2008 จะเป็นที่ซึ่งใช้จัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันโอลิมปิก 2008 มีลักษณะภายนอกคล้ายกับ "รังนก" ที่มีโครงตาข่ายเหล็กสีเทาๆเหมือนกิ่งไม้ ห่อหุ้มเพดานและผนังอาคารที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใส อัฒจันทร์มีลักษณะรูปทรงชามสีแดง ซึ่งดูคล้ายกับพระราชวังต้องห้ามของจีน ภาพโครงสร้างของสนามกีฬาแห่งนี้ จึงดูคล้ายพระราชวังสีแดง ที่อยู่ภายในรั้วกำแพงสีเทาเขียว ซึ่งให้กลิ่นอายงดงามแบบตะวันออก สำหรับบันไดภายในสนามกีฬาถูกสร้างให้กลมกลืนกับโครงตาข่าย ซึ่งให้ภาพลักษณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเอกภาพ
รูปที่ 9. สะพานตงไห่ – เชื่อมเซี่ยงไฮ้ กับ เกาะหยังซัน
สะพานข้ามทะเลแห่งแรกของจีน ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อเดือนธันวาคมปี 2005 สะพานดังกล่าวเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง ใช้เงินลงทุนราว 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนโครงสร้างหลักมีความยาว 32.5 กิโลเมตร กว้าง 31.5 เมตร มีทางรถวิ่ง 6 เลน และเพื่อความปลอดภัยในการรับมือกับพายุไต้ฝุ่นและคลื่นลมแรง สะพานตงไห่ถูกออกแบบให้เป็นรูปตัวเอส (S) เชื่อมจากอ่าวหลู่หูในเขตหนันฮุ่ยเมืองเซี่ยงไฮ้ ข้ามอ่าวหังโจว ไปยังเกาะเสี่ยวหยังซันในมณฑลเจ้อเจียง ที่ได้วางแผนไว้ให้เป็นท่าเรือการค้าเสรีแห่งแรกของจีน (และจะเป็นท่าคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก) ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2010
รูปที่ 10. โรงละครแห่งชาตินครปักกิ่ง
ตั้งอยู่กลางนครปักกิ่ง ใกล้กับจัตุรัสเทียนอันเหมิน มีเนื้อที่ 490,485 ตารางฟุต มีกำหนดเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี 2008 โครงสร้างภายนอกประกอบขึ้นจากกระจกผสมไทเทเนี่ยม ดูคล้ายกับทะเลสาบ
วันอังคารที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
:: 12 สิงหาคม 2551 ::
ปีละครั้ง ค่อยบอกว่า รักแค่ไหน
เพียงคำพูด ยังน้อยนิด หากคิดไป
อย่าทำให้ เพราะนึกได้ ในสักวัน
ตั้งแต่เล็ก จนเติบใหญ่ ใครเล่าเลี้ยง
ตลอดมา ไม่เคยเลี่ยง ไม่ผ่อนผัน
ไม่เคยรอ เทศกาล วันสำคัญ
รักที่ให้ ไม่มีคั่น เสี้ยวเวลา
ถ้าหากพอ กรองสำนึก ตรึกตรองได้
ทุกทุกวัน ยิ่งใหญ่ได้ *ใช่สิงหา
ก็ควรค่า ทดแทนผู้ มอบชีวิน
(คำอธิบาย***ใช่สิงหา แปลว่า ไม่ใช่แค่สิงหา)
วันศุกร์ที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
:: Tamise ::
La Tamise a une longueur de 346 kilomètres. C'est le principal fleuve du Royaume-Uni, mais la Severn en est le plus long, avec 354 km.
Prenant naissance au pied des collines de Cotswold, à Thames Head, dans la paroisse de Coates, au sud de Cirencester, elle serpente vers la mer du Nord en suivant essentiellement un axe ouest-est. Elle traverse alors Oxford, Wallingford, Reading, Sonning, Henley-on-Thames, Marlow, Maidenhead, Eton, Windsor, Hampton, Kingston, Richmond upon Thames avant d'entrer dans Londres. Malgré sa largeur, de nombreux ponts la traversent dans la capitale : Chelsea, Vauxhall, Westminster, Waterloo, London Bridge, Tower Bridge... Elle poursuit alors par Greenwich et Dartford avant d'entrer dans la mer par un estuaire noyé.
La Tamise possède assez peu d'affluents notables. Le principal est le Kennet qui lui parvient rive gauche à Reading. Par la suite, elle reçoit à gauche la Colne et la Lea, à droite la Wey, la Mole et la Darent.
À environ 90 kilomètres de la mer, en amont de Londres, le fleuve commence à montrer des signes d'activité de marée. À Londres, l'eau est légèrement saumâtre à cause du sel de mer. Le fleuve, autorisant le passage de grands navires, a contribué à la tradition maritime de l'Angleterre. Un réseau de canaux le fait communiquer avec la Severn, le canal de Bristol et la Trent.