วันเสาร์ที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒

:: สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์9สปีชีส์ ที่ต้องเฝ้าระวังในปี2009 ::

แรดชวา/โลมาวากิตา

กอริลลาครอสริเวอร์เสือ/โคร่งสุมาตรา/วาฬไรท์แอตแลนติกเหนือ

เฟอร์เรตป่า/ช้างแคระบอร์เนียว/แพนดา/หมีขั้วโลก

กองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund - WWF) ขึ้นบัญชีสัตว์ป่าสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวังในปี 2009 จำนวน 9 สปีชีส์ (9 to Watch in 2009) สปีชีส์เหล่านี้ เช่นเดียวกับสปีชีส์อีกจำนวนมากกำลังตกอยู่ในอันตรายจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูงมากจากการล่าของมนุษย์ การสูญเสียที่อยู่อาศัย และภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศด้วยมาดูกันว่ามีสัตว์ป่าสปีชีส์ใดบ้างที่ต้องเฝ้าระวัง

1.แรดชวา (Javan Rhinoceros)อันดับแรกคือ แรดชวา นี่คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดในโลก ด้วยจำนวนที่เหลืออยู่น้อยกว่า 60 ตัว ในพื้นที่คุ้มครองของประเทศอินโดนีเซียและประเทศเวียดนามการล่าของพรานป่าและการขยายตัวของประชากรที่เข้าไปใกล้พื้นที่คุ้มครองเป็นภัยคุกคามของแรดชวา ทีมงานของ WWF กำลังเฝ้าสังเกตแรดชวาอย่างกระตือรือร้นและกำลังปกป้องพวกมันจากการล่าของพรานป่า

2.โลมาวากิตา (Vaquita)โลมาขนาดเล็กที่สุดในโลกอาศัยอยู่ในอ่าวแคลิฟอร์เนียทางตอนเหนือ ในประเทศเม็กซิโก ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 150 ตัวเท่านั้น บ่อยครั้งที่พวกมันต้องตายจากการติดตาข่ายจับปลาของชาวประมง WWF กำลังปกป้องคุ้มครองพวกมัน โดยร่วมมือกับชาวประมงท้องถิ่น องค์กรท้องถิ่นและองค์กรนานาชาติที่ไม่แสวงหาผลกำไร รวมทั้งองค์กรเอกชนและเจ้าหน้าที่รัฐบาล ด้วยมาตรการหลายอย่าง เช่น อพยพพวกมัน ซื้อตาข่ายจับปลาจากชาวประมง และสร้างทางเลือกทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ให้แก่ชาวประมง

3.กอริลลาครอสริเวอร์ (Cross River Gorilla)สปีชีส์ย่อยของกอริลลาเวสเทิร์น เป็นกอริลลาและลิงเอพขนาดใหญ่ที่หายากที่สุดในโลกปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 300 9y; เท่านั้น ในประเทศแคเมอรูน และประเทศไนจีเรีย ภัยคุกคามของพวกมันคือการล่าจากพรานป่า ปัจจุบันองค์กรอนุรักษ์หลายองค์กรกำลังพยายามปกป้องคุ้มครองพวกมันอย่างเร่งด่วน เช่น การก่อตั้งอุทยานแห่งชาติให้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกมัน 4.เสือโคร่งสุมาตรา (Sumatran Tiger)ด้วยจำนวนที่เหลือเพียง 400-500 ตัวเท่านั้น เสือโคร่งสุมาตราอาจพบกับชะตากรรมเช่นเดียวกับเสือโคร่งชวาและเสือโคร่งบาหลีญาติสนิทของมันที่สูญพันธุ์ไปแล้ว จากการล่าอย่างหนักและการทำลายป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพวกมันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอวัยวะของเสือโคร่งสุมาตรานิยมนำไปใช้ทำยาจีนแผนโบราณและหนังที่มีราคาแพงมากเป็นสิ่งดึงดูดใจพรานป่า WWF สนับสนุนการลาดตระเวนเพื่อขัดขวางการล่าของพรานป่าและดำเนินงานลดความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับเสือโคร่งสุมาตรา และหนึ่งในความพยายามร่วมกับองค์กรอื่นๆ ทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียขยายพื้นที่อุทยานแห่งชาติเทสโซ ไนโล ที่อยู่อาศัยของพวกมัน ออกเป็นสองเท่า ในปี 2008

5.วาฬไรท์แอตแลนติกเหนือ (North Pacific Right Whale) หนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หายากที่สุดซึ่งเกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้วจากการล่าอย่างหนัก ปัจจุบันวาฬไรท์แอตแลนติกเหนือต้องเผชิญกับอันตรายหลายอย่าง เช่น จากเรือเพราะระบบการมองเห็นและการคาดคะเนที่ไม่ดีพอทำให้มันว่ายชนเรือ ว่ายติดอวน และได้รับผลกระทบจากการสำรวจน้ำมันและก๊าซในอ่าวบริสตอลของอลาสกhา ซึ่งเป็นแหล่งอาหารในฤดูร้อนWWF กำลังพัฒนาระบบการเดินเรือที่ปลอดภัยเพื่อหลบหลีกการชนกับวาฬไรท์แอตแลนติกเหนือ และพยายามยับยั้งการพัฒนาแหล่งน้ำมันและก๊าซในอ่าวบริสตอล

6.เฟอร์เรตป่า (Black-Footed Ferret)สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบกว้างใหญ่ของอเมริกาเหนือกำลังอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์เพราะหนูแพรี่ด็อกอาหารของมันมีจำนวนลดน้อยลงจากการกำจัดของเกษตรกรเฟอร์เรตป่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จากการเพาะพันธุ์และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ WWF กำลังดำเนินงานปกป้องคุ้มครองเฟอร์เรตป่า รวมทั้งหนูแพรี่ด็อกอาหารของมันด้วย

7.ช้างแคระบอร์เนียว (Borneo Pygmy Elephant)มีถิ่นที่อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว การทำป่าไม้และการเกษตรบริเวณพื้นที่ที่ราบต่ำของป่าทำให้ประชากรของพวกมันลดลง ปัจจุบันช้างแคระบอร์เนียวเหลืออยู่น้อยกว่า 1500 ตัว WWF กำลังปกป้องพื้นที่ใจกลางของที่ราบต่ำและใช้ดาวเทียมติดตามความเคลื่อนไหวเพื่อเรียนรู้ช้างที่เรายังรู้จักมันน้อยให้มากยิ่งขึ้น

8.แพนดา (Giant Panda) อนาคตของหมีแพนด้าอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคง เพราะที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภูเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนนั้นแยกออกเป็นส่วนๆ ทำให้แพนดาที่เหลืออยู่ประมาณ 1,600 ตัว อยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นกลุ่มเล็กๆ WWF ได้ดำเนินงานอนุรักษ์แพนดามาเกือบสามทศวรรษแล้ว และเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ให้ความช่วยเหลือรัฐบาลจีนในการวางแผนงานคุ้มครองแพนดาและที่อยู่อาศัยของพวกมันโดยการก่อตั้งเขตอนุรักษ์ขึ้น

9.หมีขั้วโลก (Polar Bear)หมีขั้วโลกตกอยู่ในอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ หากอุณหภูมิในเขตอาร์กติกยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หมีขั้วโลกจะสูญพันธุ์ไปภายในศตวรรษหน้า

WWF กำลังสนับสนุนการวิจัยภาคสนามเพื่อทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงของอากาศจะมีผลกระทบต่อหมีขั้วโลกอย่างไร และยังปกป้องที่อยู่อาศัยของพวกมันโดยร่วมกับภาครัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมในการลดภัยคุกคามจากการเดินเรือและการพัฒนาแหล่งน้ำมันและก๊าซในเขตอาร์กติก

ทอม ดิลลอน รองประธานอาวุโสแผนงานภาคสนามของ WWF บอกว่า ถ้าเราไม่รู้สึกจริงจังกับสปีชีส์ที่ประทับใจเหล่านี้แล้วละก็ มันค่อนข้างน่าจะเป็นไปได้ว่าหลายสปีชีส์จะไม่สามารถอยู่รอดภายในอนาคตอันใกล้นี้

เครดิต : dex-d.com !!



ไม่มีความคิดเห็น: